มองเห็น 3 ข้อมูลสำคัญของไลน์ผลิต เพิ่ม Productivity

ความท้าทายในการบริหารงานยุค 4.0

ความท้าทายที่ชาวโรงงานส่วนใหญ่พบเจอในยุคของการบริหารงานในยุค 4.0 ที่การเก็บข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงานในทุกๆวงการ เมื่อเราเก็บข้อมูลมากมาย หลายท่านคงพบปัญหาคล้ายกัน

มีข้อมูลเยอะ แต่ไม่รู้จะใช้ประโยชน์อย่างไร

เก็บข้อมูลไว้มากมายแต่ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อ หรือ ไม่ทราบว่าข้อมูลไหนเป็นตัวชี้วัดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตที่แท้จริง

มีข้อมูลเยอะ แต่ไม่รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงของไลน์การผลิตอยู่ที่ไหน

การพบปัญหาในกระบวนการผลิตอาจเกิดจากหลายปัจจัยที่แทรกแซงกระบวนการทำงานของเครื่องจักรหรือระบบโดยรวม แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลตัวไหนที่จะมาช่วยเราในการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา

มีข้อมูลเยอะ แต่ไม่สามารถถ่ายทอด อธิบายปัญหาได้อย่างถูกต้อง

บางทีปัญหาหน้างานมีความซับซ้อน บางปัญหาเกิดขึ้นมาและหายไป เมื่อไม่ได้เก็บบันทึกข้อมูลที่ตรงจุดทำให้ไม่สามารถ recheck ปัญหาได้

ข้อมูลสำคัญในกระบวนการผลิตที่ส่งผลต่อการเพิ่ม Productivity

จากประสบการณ์การปรับปรุงไลน์การผลิตหลายต่อหลายครั้งในโรงงานเด็นโซ่ จนเกิดความเชี่ยวชาญ ทำให้เราเข้าใจว่า 3 ข้อมูลหลักที่มีผลต่อการ เร่งกระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีดังนี้

  1. Output Progress (ความก้าวหน้าของผลการผลิต)
  2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามและเพิ่มผลผลิตกระบวนการผลิต การนำ sensor ในอุปกรณ์ IoT มาใช้เพื่อตรวจวัดปริมาณผลผลิต และนำข้อมูลเหล่านี้ไปยังระบบ IoT platform และฐานข้อมูลเพื่อสร้างกราฟแบบ real-time สำหรับผู้ใช้ ที่สามารถติดตามผลผลิตได้เรียลไทม์ อีกทั้งยังเห็นความผิดปกติทันที เมื่อมีการลดลงของผลผลิตและตรวจสอบสาเหตุที่อาจทำให้เกิดปัญหานี้ได้ ทำให้สามารถทำการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

  3. Cycle Time Data (เวลาที่ใช้ในกระบวนการ)
  4. การเข้าใจเวลาที่ใช้ในแต่ละกระบวนการเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อวัดเวลาที่ใช้ในแต่ละกระบวนการและส่งข้อมูลนี้ไปยัง IoT platform และฐานข้อมูล เพื่อสร้างกราฟหรือแสดงข้อมูลเวลาที่ใช้ในแต่ละกระบวนการแบบ real-time ผู้ใช้จะเห็นถึงกระบวนการที่มีการใช้เวลามากเกินไปและสามารถระบุแหล่งปัญหาอย่างรวดเร็ว

  5. VDO (วิดิโอเหตุการณ์จริงของ Cycle time ที่ผิดปกติ)
  6. การมเมื่อระบุปัญหาได้จาก Cycle time ที่ใช้เวลามากไป ผู้ใช้สามารถตรวจสอบเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นได้จากวิดิโอในแอปพลิเคชั่น และใช้เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพให้การชี้แจงปัญหาความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารและพนักงานหน้างาน

สรุป

การเก็บข้อมูลหน้าไลน์การผลิตและการเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อแสดงผล (Visualize) มีบทบาทที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังช่วยให้พนักงานหน้างานได้ฝึกฝนทักษะการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์จริงๆ เนื่องจากสามารถพบปัญหาและสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตได้โดยทันที

การเลือกดูเพียงแค่ข้อมูลสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดปัญหาสามารถช่วยลดเวลาในการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผู้บริหารสามารถรับรู้ถึงปัญหาหลักๆที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในทางอื่นๆ พนักงานหน้างานจะสามารถทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆ และสามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาต่างๆ ได้ซึ่งจะช่วยให้ทีมงานมีมุมมองที่ชัดเจนและสามารถนำเสนอและแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

การนำเสนอ ถ่ายทอดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและถูกต้องนี้เป็นผลดีไม่เพียงแค่ในด้านการจัดการและการสื่อสารระหว่างคนหน้างานและผู้บริหาร แต่ยังส่งผลให้เกิดความกระตือรือร้นและมีแรงบันดาลใจในทีมงานทั้งหมดในการค้นหาและแก้ไขปัญหาเพื่อนำสู่การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

บริการวิเคราะห์สุขภาพไลน์การผลิตฟรี

การใช้งานอุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและเชื่อมต่อระบบเก็บข้อมูลด้วย IoT จะช่วยให้ท่านได้ข้อมูลที่มีคุณภาพและแม่นยำเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น แต่การนำระบบอัตโนมัตหรือระบบเข้ามาใช้ในโรงงานนั้นเป็นการลงทุนที่สูงเราต้องตัดสินใจเมื่อมั่นใจว่าผลตอบแทนที่ได้คุ้มค่าการลงทุน

เราทีม Lean Lab Solution พร้อมให้บริการคำปรึกษาเพื่อช่วยท่านวิเคราะห์และพัฒนาไลน์การผลิตของท่านให้เหมาะสมกับความต้องการและมีประสิทธิภาพสูง

วิเคราะห์หน้างานฟรี! ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของเด็นโซ่เข้าไปวิเคระห์ที่งานพร้อมให้คำแนะนำจากประสบการณ์การปรับปรุงไลน์การผลิตในไทยผ่านโครงการ LASI มากกว่า 100 โรงงาน ท่านสามารถติดต่อเราได้ที่ [ติดต่อ Lean Lab Solution] หรือโทร 02-384-2871 ext. 0740

หมวดหมู่ : IoT

หากสนใจ IoT

LeanLabSolution (LLS) เราเป็นสื่อที่จัดทำโดย Lean Automation Business Division (LABD) บริษัท เด็นโซ่ อินโนเวทีฟ แมนูแฟคเจอริ่ง โซลูชั่น เอเชีย จำกัด เราถ่ายทอดและแบ่งปัน ทางออกของปัญหาการทำระบบอัตโนมัติภายในโรงงาน ภายใต้แนวความคิดการทำระบบอัตโนมัติแบบลีน (Lean Automation) ที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพจากการทำระบบอัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพ

นักเขียน

Nareecha K.

Digital Marketing

DENSO INTERNATIONAL ASIA CO., LTD.

นักพัฒนานวัตกรรมใหม่และสื่อสารการตลาด เขียนบทความ แปลหนังสื่อ และผลิตสื่อ รักศิลปะและการเข้าสังคม งานอดิเรกคืออัพเดทนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ จากร่วมงานอีเว้นท์ที่กำลังอินเทรนด์