Lean Automation คืออะไร และเด็นโซ่ทำให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร?
คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องของการนำระบบอัตโนมัติ หรือ Automation มาใช้ในโรงงานเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เป็นทั้งเป้าหมายและปัญหาลำดับต้นๆ ของผู้บริหารโรงงานการผลิตที่ใฝ่ฝันอยากให้โรงงานของคุณเป็น Smart Factory หรือโรงงานอัจฉริยะเพื่อเทียบทัดความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาด
แต่ทว่าการปรับปรุงให้โรงงานของคุณเป็นโรงงานในฝันได้ ไม่สามารถสำเร็จได้แค่เพียงทุ่มทุนมหาศาลเพื่อนำเข้าเครื่องจักรราคาแพง หรือ โรบอทรุ่นใหม่ล่าสุดมาใช้แทนคนเพียงอย่างเดียว ขั้นตอนสำคัญกว่าเรื่องการเลือกโรบอท หรือระบบอัติโนมัติใดๆ ที่คุณไม่ควรมองข้ามเลยคือ การเตรียมหน้างานให้พร้อมก่อน Lean Automation
Lean Automation ออกแบบอย่างไร และเด็นโซ่ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูง
เราให้ความสำคัญกับขั้นตอนการเตรียมพร้อมรวมไปถึงการออกแบบระบบที่ดี System Design for Automation การออกแบบระบบโดยใช้แนวคิดแบบ Lean Automation นั้นไม่ใช่การนำหุ่นยนต์มาแทนคนเพียงอย่างเดียว แต่เราคำนึงถึงการนำทักษะของคนมาใช้ในการออกแบบระบบอัตโนมัติ ก่อนอื่นขั้นตอนแรกเราต้องกำจัด “ความสูญเปล่า” ของการทำงานของคน สายการผลิตคุ้นชินดีกับคำว่า Muda (無駄) แปลตรงตัวว่า “ความสูญเปล่า” หรือในบางที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Waste” ซึ่งแปลได้ความหมายเหมือนกัน กล่าวคือเราต้อง Lean ขั้นตอนการผลิตของระบบ manual ก่อน หรือที่เราเรียกกันว่าการทำ Lean Manufacturing เช่น การกำจัดความสูญเปล่าจากการรอ การเดินของพนักงาน ซึ่งในตำรามีระบุไว้ถึง 7 Waste (ความสูญเปล่า 7 ประการ)
ขอให้ทุกท่านทำความเข้าใจรู้จักกับคำว่า Lean ก่อน แปลตรงตัวได้ว่า “เพรียว” “บาง” ถ้าใช้ในบริบทของอาหาร คือเนื้อที่ “ไม่ติดมัน” หรือในบริบทของการออกกำลังกาย หุ่นลีนคือหุ่นที่ “ไขมันน้อย” เมื่อนำมาใช้ในแนวคิดเชิงบริหารจัดการ แนวคิดแบบลีน คือ การลด หรือตัดทอน สิ่งที่ไม่จำเป็นในกระบวนการออก เพื่อให้กระบวนการนั้นง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ยังต้องคงรักษาประสิทธิภาพของงานไว้เหมือนเดิม
“กระบวนการผลิตที่ดีที่สุดคือ กระบวนการที่มีการทำงานไม่ซับซ้อนและต่อเนื่อง”
ซาโต้เซนเซ หรือ อาจารย์ Sato Kenshu มาสเตอร์เทรนเนอร์ของวิชา Lean Kaizen for Automation ได้กล่าวไว้และเน้นย้ำถึงเรื่องนี้ตลอด มั่นใจว่าหากใครได้เข้าเรียนหลักสูตร LASI (Lean Automation System Integrators) จนจบถึง OJT ต้องจำได้แน่นอน!
ความแตกต่างระหว่าง Traditional Automation vs. Lean Automation
ที่มา: LASI Facebook https://www.facebook.com/lasicommunity/
จาก infographic ที่เราสรุปมาจะเห็นได้เลยว่าถ้าเรา ออกแบบระบบอัตโนมัติโดยที่ทำ Lean Manufacturing และ KAIZEN ก่อน ผลลัพธ์ที่เราจะได้คือระบบอัตโนมัติที่ทั้งมีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนต่ำด้วย
ทำไมต้อง Lean Automation
การลงทุนกับระบบอัตโนมัติมีค่าใช้จ่ายสูง ก่อนที่จะควักเงินจ่ายไป แน่นอนว่าคุณศึกษาและต้องมั่นใจสุดๆว่าคุ้มค่ากับการลงทุน ในท้องตลาดทุกวันนี้มีนวัตกรรมและอุปกรณ์หลากหลาย และมีราคาที่คุณต้องจ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ทันสมัยเหล่านี้เพิ่มเติม แต่ถ้าคุณนำแนวคิด Lean Automation ไปใช้ในการออกแบบอย่างละเอียดถี่ถ้วน นอกจากคุณจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำระบบแล้ว (Low-cost Automation) คุณยังสามารถออกแบบปรับปรุงไลน์การผลิตของคุณให้มีประสิทธิภาพสูง (High productivity)
ขั้นตอนการนำ Lean Automation มาใช้ในโรงงาน
(Step 1) ตรวจสอบกระบวนการผลิตปัจจุบัน
เมื่อเราพิจารณาสภาพการทำงานแบบปัจจุบัน และนำกระบวนการผลิตแบบ manual มาวิเคราะห์ เราจะพบว่ามี MUDA (無駄) หรือ ”ความสูญเปล่า” ที่ซ่อนอยู่ในกระบวนการผลิต ที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อบริษัทและไม่ทำให้เกิดกำไรแต่ก็ยังใช้ต้นทุนอยู่ตลอดเวลา
(Step 2) ก่อนที่เราจะนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้
ดังนั้นก่อนที่เราจะนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้เราจึงจำเป็นต้อง ลด กำจัด หรือ LEAN กระบวนการผลิตของเราให้เรียบร้อย สร้างมาตรฐานการทำงานที่เป็นระบบ ด้วยวิธีการทำ KAIZEN (改善) หรือ Improvement ส่วนจะทำด้วยด้านไหนหรือวิธีใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับงานนั้นๆ ซึ่งจะทำให้เราสามารถ
– กำจัด MUDA
– สร้าง Standardized Work
– เพิ่ม OA (Operational availability)
(Step 3) Lean Automation
หลังผ่านแนวคิดที่เราออกแบบโดยคิดมาอย่างดีแล้ว คุณก็สามารถบรรลุเป้าหมายของการไปสู่โรงงานในอุดมคติ คือการมี ระบบอัตโนมัติ Lean Automation ที่ต้นทุนต่ำแต่กลับมีประสิทธิภาพสูงและยั่งยืนด้วยค่ะ
หากสนใจ IoT
LeanLabSolution (LLS) เราเป็นสื่อที่จัดทำโดย Lean Automation Business Division (LABD) บริษัท เด็นโซ่ อินโนเวทีฟ แมนูแฟคเจอริ่ง โซลูชั่น เอเชีย จำกัด เราถ่ายทอดและแบ่งปัน ทางออกของปัญหาการทำระบบอัตโนมัติภายในโรงงาน ภายใต้แนวความคิดการทำระบบอัตโนมัติแบบลีน (Lean Automation) ที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพจากการทำระบบอัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพ
นักเขียน
Nareecha K.
Digital Marketing
DENSO INTERNATIONAL ASIA CO., LTD.
นักพัฒนานวัตกรรมใหม่และสื่อสารการตลาด เขียนบทความ แปลหนังสื่อ และผลิตสื่อ รักศิลปะและการเข้าสังคม งานอดิเรกคืออัพเดทนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ จากร่วมงานอีเว้นท์ที่กำลังอินเทรนด์