การปฏิวัติอุตสาหกรรม และเตรียมความพร้อมรับอนาคต Industry 5.0
อุตสาหกรรมเป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมที่สำคัญ ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่งผลต่อการปรับตัวของสังคมในยุคต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรมโลกอีกด้วย
ที่มา: https://www.researchgate.net/figure/Industrial-revolutions-from-Industry-10-to-Industry-50-adapted-from-29-27_fig1_366960759
การพัฒนาอุตสาหกรรมตามยุคสมัย
Industry 1.0 – ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคเริ่มแรกซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่อังกฤษล่าอนานิคมและได้วัตถุดิบมามากขึ้น จึงเกิดความต้องการที่จะผลิตได้มากขึ้น ทำให้มีการคิดค้นนำพลังงานไอน้ำ มาผลิตเป็นเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและสัตว์ในอุตสาหกรรม ซึ่งยังเป็นการใช้เครื่องจักรแบบ Stand Alone และยังคงใช้แรงงานคนขนย้ายสินค้าภายในโรงงาน
Industry 2.0 – การเข้ามาของไฟฟ้าและ การผลิตจำนวนมาก (Mass Production)
ยุคของการผลิตแบบ Mass Production และการนำไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เริ่มมีการพัฒนาจากการใช้คนเคลื่อนย้ายสินค้าในโรงงานเปลี่ยนเป็นใช้สานพานในการลำเลียงชิ้นงานระหว่าง Station (Assembly Line) ส่งผลให้ Productivity เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการผลิตซ้ำในจำนวนมากๆ หรือที่เรียกว่า Mass Production ราคาสินค้ามีราคาถูกลง ทำให้คนเข้าถึงสินค้าอุตสาหกรรมได้มากขึ้น
Industry 3.0 – ยุค IT และ Computer
เมื่อเริ่มมีการนำระบบ IT และ Computer มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนั้นมีการนำอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและกระบวนการต่างๆ เพื่อประมวลผลและสั่งการ โดยทำหน้าที่เป็นสมองของเครื่องจักร เรียกว่า PLC (Programmable Logic Controller) เป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้งานแพร่หลายในสายการผลิตเพื่อควบคุมและจัดการกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ มีการนำระบบอัตโนมัติ Automation และหุ่นยนต์ Robot มาใช้ ทำให้ความผิดพลาดเริ่มลดน้อยลง แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีคนมาอยู่ในกระบวนการตัดสินใจ
Industry 4.0 – Smart Factory และการเชื่อมต่อของ IoT
ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เป็นยุคโรงงานอัจฉริยะ Smart Factory การผสมผสานเทคโนโลยีทางกายภาพและดิจิทัล (Digital) หรือ Cyber-physical systems การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในอุตสาหกรรมหรือกระบวนการที่มีการควบคุมและการเชื่อมต่อกับโลกทางกายภาพ เช่น ระบบควบคุมอัตโนมัติในการผลิตหรือขับเคลื่อนเครื่องจักร เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ใช้ Sensors เก็บข้อมูลของเครื่องจักรและบันทึกข้อมูลมหาศาลเพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงลึก (Big Data and Deep Analytics) ต่อยอดไปถึงการใช้ AI (Artificial interlligence) และ Machine Learning เสนอแนะโซลูชั่น ตัดสินใจแทนคน ซึ่งจำเป็นจะต้องพัฒนาบุคคลากรคนเพื่อทำ Digital Transform ให้ราบรื่น
Industrial 5.0 – การร่วมมือกันของมนุษย์และหุ่นยนต์ โดยใส่ใจสิ่งแวดล้อม
มุมมองอนาคตของภาคอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการประเมินการปฏิวัติตออุตสาหกรรมครั้งถัดไป จะเกิดขึ้นราว ปี 2025 จากประวัติการุฏิวัติอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่าระยะเวลาในการปฏิวัติเร็วขึ้น หลังจากการเข้ามาของเทคโนโลยีและปัจจัยเร่งรัดอื่นๆ เช่น วิกฤตโควิด 19 ที่ผ่านมา
ในอนาคตอันใกล้นี้มนุษย์จะเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตอีกครั้งการผสมผสานระหว่างมนุษย์ ระบบอัจฉริยะและเทคโนโลยี (Human, AI and Robot Co-working) ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาในด้านการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร ในขั้นตอนของ Industrial 5.0 เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของมนุษย์ อีกทั้งเรื่องของความยั่งยืนและการมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Sustainability and Social Responsibility) ก็เข้ามามีบทบาทที่สำคัญอีกด้วย เนื่องจากอุตสาหกรรมที่ผ่านมาส่งผลกระทบในระยะยาวอย่างมหาศาลต่อสภาพแวดล้อม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมเน้นพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตมองหาวิธีการออกแบบกระบวนการที่มีประสิทธิภาพทางพลังงาน
กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจาก Industry 4.0 และ 5.0 คือ การให้ความสำคัญกับศักยภาพของมนุษย์ สร้างสภาพแวดล้อมที่มนุษย์และหุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงในมุมของอุตสาหกรรมยานยนต์
เมื่อสภาพแวดล้อมในสังคมเปลี่ยน การวิวัฒน์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ก็พัฒนาตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาด การนำซอฟท์แวร์มาใช้ในการพัฒนาเครื่องยนต์ และเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างแพร่หลายและไร้รอยต่อ ทำให้เด็นโซ่คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ตามแนวคิดแบบ CASE ดังนี้
ที่มา: https://www.nikkei.com/article/DGXKZO51931240X01C19A1EA2000/
C – Connect การเชื่อมต่อ: การเข้ามาของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (5G) ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการพัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการติดระบบ GPS กับรถยนต์เพื่อวิเคราะห์ และ optimize เส้นทางการเดินทางที่ประหยัดพลังงาน แบบ real-time หรือแม้กระทั่งการมอนิเตอร์ (Monitor) พฤติกรรมของคนขับเพื่อป้องกันไม่เกิดอุบัติเหตุและส่งเสริมการขับขี่แบบปลอดภัย (Drive Safety)
A – Autonomous การขับเคลื่อนอัตโนมัติ: การขับขี่แบบไร้คนขับซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว เราสามารถเชื่อมต่อการควบคุมต่างๆในรถได้กับสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว
S- Shared การใช้รถยนต์ร่วมกัน: เราเห็นบริการ car sharing เกิดขึ้นมากมาย แม้กระทั่งในประเทศไทยเองเราก็พบเห็นบริการของ ride sharing service ในชีวิตประจำวัน
E – Electric การใช้ไฟฟ้าควบคุมเครื่องยนต์: ไฟฟ้าเข้ามามีบทบางที่สำคัญจากภาพด้านล่างจะเห็นว่าในปีหลังๆ ส่วนของ mechanism นั้นเริ่มถูกทดแทนด้วย software เป็นหลักมากขึ้น
การรับมือกับอนาคต Industry 5.0
Industrial 5.0 เน้นการพัฒนาทักษะและความสามารถของแรงงานในด้านที่เป็นเอกสิทธิ์ของมนุษย์เป็นหลัก ในด้านของสิ่งที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้อย่างด้านความคิดสร้างสรรค์และการร่วมมือกันในสังคม ซี่งเราได้สรุปทักษะที่สำคัญไว้เป็นหัวข้อหลักๆ ดังนี้
- การสร้างวัฒนธรรมการคิด เรียนรู้ และท้าทายสิ่งใหม่ๆ (Culture of Thinking Learning and Challenging)
- การลงทุนในการพัฒนาบุคลากร (Telent Development)
- การโอบรับความยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Sustainability and Responsibility)
- การให้ความสำคัญกับการสร้างพาร์ทเนอร์ (Collaboration and Partnerships)
- การทำงานร่วมกันของหุ่นยนต์และมนุษย์ (Cobot)
- ความยืดหยุ่นและปรับตัวให้ไว (Flexible and Agile)
สรุป
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ภาคอุตสาหกรรมก็ควรจะเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตลอด ทั้งชีวิต ในท้ายที่สุด การรับมือกับ Industry 5.0 เรายังคงต้องการการร่วมมือและความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างระบบการทำงานที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง:
- Denso Training Academy Thailand (DTAT)
- https://www.assuredpartners.com/blogs/manufacturing/2023/the-manufacturing-evolution-from-industry-1-to-industry-5/
หากสนใจ IoT
LeanLabSolution (LLS) เราเป็นสื่อที่จัดทำโดย Lean Automation Business Division (LABD) บริษัท เด็นโซ่ อินโนเวทีฟ แมนูแฟคเจอริ่ง โซลูชั่น เอเชีย จำกัด เราถ่ายทอดและแบ่งปัน ทางออกของปัญหาการทำระบบอัตโนมัติภายในโรงงาน ภายใต้แนวความคิดการทำระบบอัตโนมัติแบบลีน (Lean Automation) ที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพจากการทำระบบอัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพ
นักเขียน
Nareecha K.
Digital Marketing
DENSO INTERNATIONAL ASIA CO., LTD.
นักพัฒนานวัตกรรมใหม่และสื่อสารการตลาด เขียนบทความ แปลหนังสื่อ และผลิตสื่อ รักศิลปะและการเข้าสังคม งานอดิเรกคืออัพเดทนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ จากร่วมงานอีเว้นท์ที่กำลังอินเทรนด์